รู้จักกับไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ของโลก
ดร.แนนซี่ ค็อกซ์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยไข้หวัดใหญ่ ศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐ กล่าวว่า ไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ชนิด A H1N1 นี้ มีลักษณะพันธุกรรมหรือยีน ที่ประกอบด้วยเชื้อไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์รวมอยู่ด้วยกัน ได้แก่ เชื้อไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์ เชื้อไข้หวัดนกที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ และ เชื้อไข้หวัดหมูที่พบบ่อยในทวีปยุโรปและเอเชีย
http://www.chaoprayanews.com/wp-content/uploads/2009/05/h1n1_flu_0303.jpg
โดยสันนิษฐานเบื้องต้นว่า เชื้อไข้หวัดพันธุ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม หรือ Antigenetic Shift โดยมีหมูที่เป็นพาหะนำโรค โดยการถูกเชื้อไวรัสไข้หวัดนก ไข้หวัดหมู และไข้หวัดใหญ่ เข้าไปอยู่ในตัว ต่อมาเซลล์ในตัวหมูถูกไวรัสตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปโจมตี ทำให้หน่วยพันธุกรรมไวรัสดังกล่าวผสมปนเปกันระหว่างการแบ่งตัว กลายเป็นเชื้อพันธุ์ใหม่ขึ้นมา
ขณะเดียวกัน ก็มีรายงานว่า นายเอเดรียน กิบส์ ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยพัฒนายาต้านไวรัส ทามิฟลู ของบริษัทโรช และเป็นผู้ศึกษาวิวัฒนาการของเชื้อโรคมาเป็นเวลานานถึง 40 ปี เป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์รายแรกๆที่วิเคราะห์ส่วนประกอบทางด้านพันธุกรรมเปิดเผยว่า เขาตั้งใจที่จะตีพิมพ์รายงานที่มีข้อมูลบ่งชี้ว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ จากไข่ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เพาะไวรัสและบริษัทยาได้นำไปใช้เพื่อผลิตวัคซีนก็เป็นได้
ข้อมูลที่น่าสนใจ
1. ปัจจุบันมีเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่จำนวนมากในโลกและมีวัคซีนที่สามารถฉีดยาป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยแต่ละปีวัคซีนที่นำมาใช้เป็นไปตามเชื้อไวรัสที่น่าจะมีผลกระทบมากในปีนั้นๆ
2. ไวรัส H1N1 หรือไวรัสของไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่นี้ เป็นไวรัสที่ติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วและยังไม่มีวัคซีนป้องกัน
3. ปัจจุบันยังไม่มีอันตรายที่น่าวิตกจนเกินไป โดยที่ผ่านมาผู้ที่ได้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 จะมีความรุนแรงต่อร่างกายน้อย น.พ. Belinda Ostrowsky จากศูนย์การแพทย์ Montefiore นิวยอร์ค กล่าวว่า มีผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดชนิดนี้ เพียงเล็กน้อยในสหรัฐฯ หากเทียบกับยอดผู้เสียชีวิตด้วยไข้หวัดตามฤดูกาลประมาณ 2,000 คน จากทุกปี
ด้านกระทรวงสาธารณะสุขของไทย ระบุว่า เชื้อดังกล่าวไม่มีความรุนแรงมาก โดยมีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่า 1% มีโอกาสหายเองได้เกิน 90 % และในส่วนที่ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล 5-10% นั้น เนื่องจากมีโรคประจำตัว
4. ผู้ติดเชื้อมีสุขภาพแข็งแรงและอาการไม่รุนแรง สามารถรักษาหายได้ด้วยภูมิต้านทานของร่างกาย ทั้งนี้หากเป็นผู้สูงอายุหรือเด็กจะมีความเสี่ยงมากกว่า
อาการ
ผู้ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้นตามปกติ คือ มีไข้ขึ้นสูง ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ไอ คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามร่างกายรุนแรง ท้องร่วง และปวดศีรษะรุนแรง อาการป่วยจะพัฒนารวดเร็วและจะมีอาการหายใจลำบากอย่างรุนแรงภายใน 5 วัน ทั้งนี้อาจจะพบว่าผู้ที่รับเชื้อจะแสดงอาการไม่รุนแรง
ข้อควรระวัง
- ผู้ติดเชื้อมีภูมิต้านทานอ่อนแอ ได้แก่ เด็ก คนชรา และผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคภูมิแพ้ เป็นต้น จะมีผลกระทบต่อร่างกายมากกว่าคนธรรมดา ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ดังนั้นควรพบแพทย์เมื่อรู้สึกเป็นไข้ภายใน 2 วัน
- กรณีที่มีอาการรุนแรง เกิดจากมีการอักเสบที่ปอด จนถึงขั้นเสียชีวิตได้
- เด็กเล็กที่มีผู้ปกครองอาจได้รับทราบอาการป่วยช้า เนื่องจากเด็กไม่ได้บอกให้ทราบ
การติดต่อ
การแพร่ติดต่อเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ในคน คือ
1. แพร่ไปยังผู้อื่นโดยการไอ หรือจามรดกัน โดยที่เชื้อจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย
2. ติดจากมือและสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ และเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูกและตา หากนำมือที่มีเชื้อไปสัมผัสร่างกาย เช่น การแคะจมูก การขยี้ตา
การป้องกัน
1.ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิด เพื่อป้องกันเวลาจาม
2.หมั่นล้างมือ
3.หากมีอาการ ไข้อย่างรุนแรง และไข้ไม่ลดภายใน 2 วัน ควรรีบพบแพทย์ทันที โดยเฉพาะผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคนี้ รวมทั้งผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศที่มีการแพร่ระบาด
4. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังสถานที่แอดอัด และงดเดินทางไปในประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรคนี้อย่างรุนแรง
5. รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ
วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
การพัฒนาสติปัญญาทั้ง 5 ด้าน
การพัฒนาทั้ง 5 ด้าน
การพัฒนาการเพื่อให้นักเรียนนักศึกษาที่เรียนกับครูจันทร์เพ็ญ เป็นผู้มี:1) IQ (Intelligence Quotient ) การพัฒนาให้ผู้เรียน ทักษะกรบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้ มีความเฉลียว ฉลาดขึ้น ใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง
2) EQ (Emotion Quatient) การพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเองและมีความมั่นคงทางอารมณ์
3)TQ (Technology Quotient) การพัฒนาความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยีและรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีต่าง ๆให้เหมาะสมกับความต้องการ
4) AQ (Adversity Quotient) การพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหาที่ไม่เคยพบมาก่อนและการเผชิญสภาพ ปัญหาที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวทันต่อการเปลี่ยนแปลงและทำงานภายใต้สภาวะความกดดันได้
5) MQ(Morality Quotient) ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้ผู้เรียนมีจิตใจงดงาม รู้จักขนบธรรมเนียม ประเพณีที่ดีและอยู่ในสังคม ความรู้ (Knowledge -based sociaty ) ได้เป็นอย่างดี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)